Psyduck Pokemon

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา


การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านและการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน

           หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูต จำนวน 9 สาย เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆทำให้พระพุทธศาสนาขยายไปทั่วและเจริญรุ่งเรืองเท่าทุกวันนี้สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิ(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)คณะสมณทูตที่เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้แก่ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 อ่านเพิ่มเติ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พุทธประวัติและชาดก


พุทธประวัติ
.  ผจญมาร
  เมื่อพระมหาสัตว์  ทรงรับหญ้ากุสะ ๘กำจากพราหมณ์ชื่อโสตถิยะแล้ว  ทรงนำไปปูลาดเป็นอาสนะที่โคนต้น “อัสสัตถะ” (ต่อมาเรียกต้นพระศรีมหาโพธิ์) ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางแม่น้ำเนรัญชรา ทรงตั้งสัตยาธิฐานว่า “ตราบใดที่ยังไม่บรรลุด้วยความพยายามของบุรุษ  ด้วยเรี่ยวแรงองบุรุษ  แม้ว่าเลือดและเนื้อจะเหือดหายไป เหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามทีเราจะไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้” พญามารร้องบอกให้พระองค์เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะว่า “บัลลังนี้เป็นของข้า ท่านจงลุกขึ้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี


วันมาฆบูชา : โอวาทปาฏิโมกข์

ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปีอธิกมาส

   
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อ่านเพิ่มเติ่ม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา


1.ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม

      
รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
    -
ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
    -
ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
    -
ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
    -
ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)

     
นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
    -
เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา 
      ไม่ยินดียินร้าย
    -
สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้
    -
สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต
      ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง
    -
วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6) อ่านเพิ่มเติ่ม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนาสุภาษิต

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนาสุภาษิต

พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก

          
พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนา
ที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง
แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท